วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

! ความน่ารักของหนู ! [*-*]

ภาษาธรรมชาติ หรือ Whole Language Approach



เป็นการสอนภาษาแบบบูรณาการ คือการสอนการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมๆ กันอย่างมีระบบ เชื่อว่าถ้าสอนโดยรวมจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งดีกว่าสอนแบบเดิมที่ใช้วิธีการสอนแบบแยกออกไป เช่น พอถึงเวลาเขียนก็เขียน อ่านก็นั่งอ่านเพียงอย่างเดียว เราไม่ได้บอกว่าการสอนแบบนั้นไม่ดี แต่มีการวิจัยออกมาพบว่าการสอนแบบภาษาธรรมชาติ เราจะยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง แต่การสอนแบบเก่าจะยึดหลักสูตรหรือหนังสือแบบเรียนเป็นตัวหลัก และการสอนแบบนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมแก่เด็กในทุกๆ ด้าน”

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

{{{ การพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย }}}



การพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย

การจัดการเรียนรู้
? รู้และเข้าใจแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา ของเด็กปฐมวัย
? รู้และเข้าใจหลักการและวิธีการจัดการเรียนรู้ภาษาสำหรับ เด็กปฐมวัย
? จัดการเรียนรู้และประสบการณ์ทั้งภาษาไทย และภาษาถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย
? สร้างสื่อเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
? พัฒนาแบบวัดทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
? ยอมรับและเห็นคุณค่าของความแตกต่างระหว่างบุคคล

สาระการเรียนรู้
? พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
? การจัดการเรียนรู้แบะประสบการณ์ภาษาไทย และภาษาถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย
? หลักการ วิธีการเรียนรู้และการประเมินผล
? การสร้างและพัฒนาสื่อเพื่อพัฒนาทักษะ ทางภาษา

ผลลัพธ์การเรียนรู้
? ศึกษาแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางภาษาและการจัด ประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
? ศึกษาหลักการวิธีการเรียนรู้และการประเมินผลทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย
? ทดลองจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
? ฝึกออกแบบสร้างทดลองประเมินและปรับปรุงสื่อ การสอนภาษา


เป้าหมาย
1. สามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางภาษา
2. สามารถวิเคราะห์ วางแผนในการจัดกิจกรรมการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย
3. สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษา ภาษาไทย ภาษาถิ่น ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สองสำหรับเด็กปฐมวัย
4. สามารถสร้างพัฒนา สื่อและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาเด็กปฐมวัย
5. สามารถสร้างและพัฒนาแบบวัดและประเมินทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
6. สามารถวิเคราะห์ การยอมรับและเห็นคุณค่าของความแตกต่างทางภาษาระหว่างบุคคล

การสอน
ครั้งที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา
ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะองค์ประกอบของภาษา
ครั้งที่ 2
ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา
วิเคราะห์ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา
ครั้งที่ 3 – 4
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ศึกษาสังเกตสถานการณ์จริง
ครั้งที่ 5 – 9
การจัดประสบการณ์ภาษาไทยและภาษาถิ่น หรือภาษาที่ 2 สำหรับเด็กปฐมวัย
ศึกษาจากสถานการณ์จริง
ตรั้งที่ 10 – 13
สร้างสื่อเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาเด็กปฐมวัย
สำรวจชื่อและออกแบบการสร้างตลอดจนทดลองใช้กับเด็กจริง ๆ
ครั้งที่ 14 - 16
พัฒนาแบบวัดทักษะทางภาษา
ระดมความคิดในการพัฒนาแบบรัดและนำไปทดลองใช้

วัดผล ประเมินผล
1. ปฏิบัติ 50 คะแนน
2. สอบระหว่างภาค 20 คะแนน
3. สอบปลายภาค 30 คะแนน

!!!เด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติสามารถวินิจฉัยได้ง่าย !!!


หากเด็กมีความสามารถไม่สมวัยชัดเจน แต่มีเด็กจำนวนไม่น้อย ที่มีพัฒนาการ
ผิดปกติไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

จากสถิติขององค์การอนามัยโลกประมาณว่าร้อยละ 15-20 ของเด็กทั่วโลก มีพัฒนาการผิดปกติ กลุ่มโรคที่มีพัฒนาการผิดปกติได้แก่โรคสมาธิสั้น ความผิดปกติทางภาษา การเรียนบกพร่อง ปัญญาอ่อน กลุ่มอาการออทิซึ่ม โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น หอบหืด เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็ง เป็นต้น
ถ้าเราสามารถตรวจหาว่าเด็กคนนี้มีพัฒนาการล่าช้าได้เร็ว ก็จะสามารถวางแผนที่จะช่วยให้เด็กกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีพอ โดยให้รีบทำการรักษาโรคที่เด็กเป็นอยู่หรือทำการกระตุ้นการพัฒนาการตั้งแต่เล็กๆ ซึ่งอาจทำให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ โรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มพัฒนาการผิดปกติ โดยเฉพาะในต่างประเทศโรคหนึ่ง คือ การเรียนบกพร่อง (learning disabilily หรือ LD) แต่ประเทศเรา ยังไม่ค่อยมีการศึกษาทำให้ครูบางคนเข้าใจว่า LD เป็นโรคปัญญาอ่อนทั่วๆ ไป ที่ไม่ใช่เพราะเด็ก LD สามารถเรียนจนจบดอกเตอร์ได้ถ้าได้รับการเรียนการสอนที่ถูกต้อง learning disabilily หรือ LD คือ อาการรับรู้บกพร่อง เกิดจากกระบวนการทำงานของสมองส่วนที่แปลความผิดปกติ เช่นเด็ก 2 คนดูภาพเดียวกัน เด็กที่เป็น LD จะแปลภาพออกมาเป็นรูปทรง ที่ไม่เหมือนเด็กปกติเห็น เช่น ภาพ "ก" เด็ก LD อาจเขียน "ก กลับหลัง" เพราะเขาเห็นภาพเป็นแบบนั้น เป็นต้น
เด็กที่มีความผิดปกติด้านภาษา (speech and language disorder) ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยแต่ยังถูกละเลยความสำคัญบางอย่าง เช่น เด็กมาด้วยปัญหาพูดช้า การประเมินจะมุ่งเน้นเรื่องการพูดของเด็กเป็นส่วนใหญ่ อาจมีการประเมินความสามารถในการฟังหรือความเข้าใจภาษาบ้าง แต่มักจะไม่ครอบคลุมการประเมินว่าภาษาที่พูดนั้นมีความหมาย ในการสื่อสารเหมาะสมกับวัยหรือไม่ หรือประเมินทักษะการใช้ภาษาด้านอื่นๆ นอกจากคำพูด พัฒนาการทางภาษาที่ผิดปกติของเด็กแม้จะไม่รุนแรง แต่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กเมื่อโตขึ้นพอสมควร เนื่องจากพัฒนาการของเด็กมีขีดขั้นความสามารถที่เด็กทำได้ในช่วงอายุหนึ่งๆ เช่น ร้อยละ 50 ของเด็กเริ่มเดินเองได้ที่อายุ 1 ปี หรือประมาณร้อยละ 90 เดินได้เองที่อายุ 15 ของเดือน ดังนั้นการวินิจฉัยพัฒนาการล่าช้าในเด็ก จึงต้องอาศัยเกณฑ์เทียบความสามารถของเด็กที่มีปัญหากับเด็กปกติ ส่วนมากที่อายุเท่ากันด้วย

DQ=อายุพัฒนาการx100 อายุจริง

DQ คือ ค่าความสามารถพัฒนาการ เป็นคะแนนที่ได้จากการทดสอบ การพัฒนาการของเด็ก โดยแบบทดสอบการพัฒนาการขั้นแรกสร้างในปี พ.ศ.2523 เป็นแบบทดสอบที่ใช้เวลาทดสอบประมาณ 30 นาที เริ่มใช้กับทารกอายุ 1 สัปดาห์ ถึง 42 สัปดาห์
อายุพัฒนาการ หมายถึง อายุเฉลี่ยที่เด็กมีความสามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น เด็กคนหนึ่งอายุ 2 ปี เพิ่งเริ่มพูดคำที่มีความหมายได้ (แต่ปกติเด็กส่วนใหญ่ จะพูดคำพูดที่มีความหมายได้เมื่ออายุ 1 ปี ซึ่งเด็กคนนี้จะมีอายุพัฒนาการ 1 ปี แต่อายุจริง 2 ปี)

DQ ของการพัฒนาการทางภาษาของเด็กคนนี้ =1/2x100=50
เอาเด็กที่มีพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้าโดย DQ อยู่ระหว่าง 50-70 เกณฑ์ล่าช้านั้นอยู่ในขั้นน้อย และเมื่อให้คำแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และส่งเสริมพัฒนาการด้านนั้นๆ แล้วเด็กดีขึ้นก็อาจติดตามเฝ้าระวังดูเป็นระยะๆ ต่อไปได้ ภายหลังติดตาม 2-3 เดือน หากประเมินซ้ำแล้วยังล่าช้าอยู่ควรพิจารณา ทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุต่อไป

ในกรณีที่ DQ มีค่าน้อยกว่า 50 ไม่ว่าจะล่าช้ากี่ด้านก็ตามควรตรวจหาสาเหตุ อย่างถี่ถ้วนตั้งแต่ต้น
DQ ไม่ใช่ IQ ดังนั้นจึงไม่สามารถนำมาใช้พยากรณ์ระดับสติปัญญาของเด็ก ในระยะยาวได้ อาจใช้บอกได้เพียงเป็นแนวโน้มโดยเฉพาะในกรณีที่ DQ ต่ำมากๆ เนื่องจากข้อทดสอบที่ใช้กับเด็กในช่วงอายุ 2-3 ปีแรก เป็นข้อทดสอบที่ประเมินทักษะ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์กับระดับสติปัญญาน้อย
หากใช้ DQ ในการประเมินพัฒนาการเด็กแล้วพบว่า ทักษะการใช้กล้ามเนื้อบกพร่อง ควรให้เด็กได้พบแพทย์เพื่อตรวจระบบประสาท เพราะโรคสมองบางอย่าง เช่น cerebral palsy จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง
เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าจะมีความสัมพันธ์กับระดับสติปัญญา หากมีพัฒนาการด้านภาษาช้าและพัฒนาการด้านสังคมช้าด้วย ก็อาจเป็นโรคออทิซึ่ม ในเด็กออทิซึ่มพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า ไม่สัมพันธ์กับระดับสติปัญญาของเด็กกลุ่มนี้โดยตรง เพราะเด็กออทิซึ่มจำนวนหนึ่งมีระดับสติปัญญาปกติเมื่อโตขึ้น
พัฒนาการล่าช้าในเด็ก ทางการแพทย์ได้จำแนกพัฒนาการ ออกเป็น 4 ด้าน คือ
1. การทรงตัวและการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (gross molor)
2. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กรวมทั้งการใช้ตาและมือร่วมกันในการทำงาน (fine motor adaptive)
3. ด้านสื่อภาษา (language)
4. ด้านทักษะทางสังคม และการช่วยเหลือตนเอง (social and self help)

แนวทางการวินิจฉัยพัฒนาการล่าช้านั้นพอสรุปได้ดังนี้
1. พัฒนาการล่าช้าเล็กน้อย (DQ 50-75)
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าน้อยมาก โดยมี DQ มากกว่า 75 มักไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าผิดปกติ เนื่องจากเกือบทั้งหมด เป็นภาวะที่เบี่ยงเบนไปเล็กน้อยจากปกติ แต่เมื่อเด็กมีพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่ง ล่าช้าและ DQ อยู่ในช่วง 50-75 ส่วนหนึ่ง มักเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงดู เพราะเมื่อติดตามเด็กกลุ่มนี้ไประยะหนึ่ง พัฒนาการที่ล่าช้า จะดีขึ้นจนใกล้เคียงหรือเป็นปกติ เชื่อว่าการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อเด็กสามารถช่วยให้พัฒนาการของเด็กดีขึ้นได้
อย่างไรก็ตามพัฒนาการที่ล่าช้าเล็กน้อยนี้อาจเป็นอาการแสดงเริ่มต้น ของโรคบางโรคที่ไม่รุนแรง เช่น พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อล่าช้าเล็กน้อย อาจพบในโรค cerebral palsy ชนิดไม่รุนแรงที่มีการตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติไม่มากนัก ร่วมกับมีความผิดปกติของระบบประสาทเพียงเล็กน้อย
พัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้าเล็กน้อยเพียงด้านเดียว มักได้รับการวินิจฉัยว่ามีสาเหตุจากการเลี้ยงดู แต่มีเด็กจำนวนไม่น้อย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น developmental language disorder (DLD) พัฒนาการทางภาษาล่าช้าเล็กน้อยนี้อาจมีสาเหตุจากการได้ยินบกพร่อง เป็นอาการเริ่มต้นของกลุ่มที่มีสติปัญญาต่ำกว่าปกติเล็กน้อย หรือเป็นการเรียนรู้ภาษาบกพร่อง
2. พัฒนาการล่าช้ามาก (DQ ต่ำกว่า 50)
เมื่อระดับ DQ ต่ำกว่า 50 มีโอกาสที่เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้าผิดปกติจริงสูงมาก ประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าของการพัฒนาการล่าช้าในกลุ่มนี้มีสาเหตุที่อาจจะระบุได้ ถ้ามีการตรวจค้นอย่างถี่ถ้วน การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมอาจเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ช้ามากขึ้น
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ามากโอกาสที่จะตรวจพบว่า มีเพียงด้านใดด้านหนึ่งล่าช้าเพียงด้านเดียวมีอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีทักษะล่าช้าหลายด้านด้วยกัน
พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อล่าช้ามากมักเป็นโรคกลุ่ม cerebral palsy ที่เป็นรุนแรง ซึ่งเด็กจะมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติมาก นอกจากทักษะด้านการทรงตัว และเคลื่อนไหวล่าช้าแล้ว ทักษะการใช้มือมักล่าช้าไปด้วย และอาจมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าร่วมด้วย หากมีพยาธิสภาพที่สมองรุนแรง จะมีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วยมากกว่า cerebral palsy ประเภทอื่นที่มีความรุนแรงน้อยกว่า ดังนั้นจึงควรประเมินทักษะการใช้มือและตาร่วมกันทำงานและด้านการสื่อภาษาด้วยเสมอ เพราะเป็นทักษะที่สามารถสะท้อนระดับสติปัญญาได้ดี ถ้าพบว่าทักษะ 2 ด้านนี้ปกติหรือใกล้เคียงปกติ เด็กคนนั้นควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านที่ดีตามวัย เพื่อไม่ให้ขาดโอกาสการเรียนรู้ที่เป็นผลตามมาจากการที่มีการเคลื่อนไหวจำกัด หรือความสามารถจำกัดในการใช้นิ้วมือเนื่องจากมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ
ถ้าทักษะด้านภาษาปกติการส่งเสริมเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เพิ่มเติม อาจทำได้โดยใช้เทคโนโลยีบางอย่างช่วย เช่น คอมพิวเตอร์พัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า อาจเกิดร่วมกับการได้ยินบกพร่องซึ่งถ้าได้รับการช่วยเหลือเช่นใช้เครื่องช่วยฟัง ก็อาจทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติได้
ถ้ามีพัฒนาการทางภาษาล่าช้ามาก อาจมีสาเหตุจากการได้ยินบกพร่อง หรืออาจเป็นอาการแสดงระยะแรกของภาวะปัญญาอ่อน โดยอาจมีความผิดปกติในทักษะด้านการใช้ตาและมือร่วมกันทำงานด้วยหรือไม่ก็ได้ และหากมีทักษะทางสังคมล่าช้ามากร่วมด้วยอาจเป็นกลุ่มอาการออทิซึ่ม

สาเหตุที่ทำให้เกิดพัฒนาการล่าช้า
1. โรคพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิด หรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย กลุ่มอาการดาวน์เป็นความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งเป็นสาเหตุของพัฒนาการล่าช้า (ปัญญาอ่อน) ที่พบบ่อยที่สุด
2. โรคของระบบประสาท เด็กพัฒนาการล่าช้าส่วนใหญ่ มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคืออาการชัก และความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ
3. การติดเชื้อ โรคในกลุ่มนี้ที่สำคัญคือ การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กมักมีน้ำหนักตัวน้อยตั้งแต่แรกเกิด ศีรษะเล็กผิดปกติ ตับม้ามโต การได้ยินบกพร่องและเป็นต้อกระจกร่วมด้วย เชื้อเหล่านี้ได้จากหัดเยอรมัน ซิฟิลิส toxoplasma AIDS ฯลฯ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึ่ม ที่พบบ่อยในไทยคือ ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในเลือด ในกรณีที่เป็นมาแต่กำเนิด และไม่ได้รับการรักษาก่อนอายุ 2-3 เดือน เด็กจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ อย่างถาวรซึ่งแก้ไม่ได้ แต่ถ้าเด็กได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเกิดเด็กจะมีสติปัญญาปกติได้
นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ ที่เกิดจากความผิดปกติของเมตาบอลิซึ่ม ซึ่งบางโรครู้แล้วก็รักษาไม่ได้ แต่บางโรคก็รักษาได้ เช่นโรค biotinidase deficiency ซึ่งเด็กจะมีอาการแสดงคือ พัฒนาการล่าช้า ผื่น ผมร่วง ชัก การใช้ biotin รักษาอาจทำให้เด็กมีอาการดีขึ้นจนเป็นปกติ ดังนั้นถ้าพบเด็กที่มีประวัติการแต่งงานระหว่างญาติหรือบุคคลในครอบครัว ที่มีความผิดปกติทำนองเดียวกัน เด็กเหล่านี้ควรได้รับการวินิจฉัยแยกโรค ความผิดปกติแต่กำเนิดเกี่ยวกับเมตาบอลิซึ่มด้วยแม้หลายโรคจะรักษาไม่ได้ แต่ควรได้รับคำปรึกษาแนะนำเพื่อการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสมต่อไป
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด มักพบในเด็กเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรก คลอดน้อยขาดออกซิเจน เป็นต้น
6. สารเคมี ตะกั่วเป็นสารเคมีที่มีผลกระทบต่อเด็กมากที่สุด เนื่องจากมีการใช้สารตะกั่วในชีวิตประจำวันมากเด็กที่มีสารตะกั่วในเลือดสูง สะสมเป็นเวลานาน จะทำให้มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไป
สารเคมีอีกตัวหนึ่งซึ่งมีผลทำให้การพัฒนาการของทารกในครรภ์ล่าช้า คือ แอลกอฮอล์ซึ่งเชื่อว่าเป็นสารที่ทำให้เกิดความผิดปกติในเด็กทารกคือ มีตัวเล็ก ตาเล็ก ริมฝีปากและร่องริมฝีปากบนเล็กผิดปกติ หัวใจพิการแต่กำเนิดและมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร ปัจจัยข้อนี้แม้มีผลกระทบต่อพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่มักไม่รุนแรง ดังนั้นหากเด็กที่พัฒนาล่าช้าค่อนข้างมาก โดยเฉพาะมี DQ ต่ำกว่า 50 ควรตรวจค้นสาเหตุอื่นร่วมด้วยเสมอ ผู้ที่เป็นพ่อแม่เด็กจึงควรเรียนรู้เรื่องพัฒนาการของเด็ก เพื่อสามารถค้นพบความผิดปกติทางพัฒนาการตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อจะได้รีบแก้ไขหรือปรับปรุงพัฒนาการของบุตรหลานของท่านให้เร็วที่สุด
พ.ญ.ลำดวน นำศิริกุล
[ ที่มา... นิตยสารแม่และเด็ก ปีที่ 22 ฉบับที่ 334 ธันวาคม 2542 ]

QQQ การพัฒนาภาษาของลูกรักแสนสนุก QQQ


สวัดดีค่ะ วันนี้เรามีการพัฒนาภาษาของลูกรักมาฝากค่ะ

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
การเรียนรู้ภาษาของเด็กมิได้เริ่มจากการเรียนคำ ความหมายของคำ แต่เริ่มจากการมีความคิดทางภาษาอยู่ภายใน แล้วจึงพัฒนาเป็นการคิดคำอาศัยการลองผิดลองถูกจากการเล่นเสียง
ขั้นตอนของพัฒนาการทางการรับรู้ภาษาของเด็ก
1. สิ่งแรกที่เด็กเรียนรู้คือ ความรู้สึกของพ่อแม่และพี่เลี้ยง ซึ่งแสดงออกโดยการพูด
2. เมื่อเด็กพัฒนาขึ้น เด็กจะเข้าใจการแสดงท่าทาง น้ำเสียงและรูปลักษณ์ของการพูด
3. ขั้นตอนการต่อมาเด็กจะเรียนรู้คำพูด และกลุ่มคำต่าง ๆ
4. ขั้นสูงขึ้นมาอีก เด็กจะเข้าใจประโยคที่ยาวขึ้นและยาก
ฉะนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กเข้าใจและสามารถสื่อภาษาได้ถูกต้อง เราต้องให้โอกาสเด็กให้ได้ฟัง ได้เห็นสิ่งของหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้นหลาย ๆ ครั้ง เพื่อช่วยให้เด็กได้พัฒนาภาษารับ ซึ่งเป็นสิ่ง สำคัญที่สุดในการที่จะช่วยเด็กสามารถติดต่อสื่อความหมายทางภาได้ดี

ขั้นตอนการแสดงออกทางภาษาของเด็ก
1. Cooing เป็นเสียงที่เด็กทำในขณะที่นอนอยู่ในเปล จะเป็นเสียงที่อยู่ในลำคอ เช่น อา อู เอ
2. Babbling เสียงอ้อแอ้ ขั้นนี้จะเริ่มเชื่อมโยงเสียงพยัญชนะและสระ
3. ImItion ขั้นเลียนเสียง จะเริ่มเลียนเสียงตัวเอง
4. Single Words ขั้นนี้เด็กจะเสียง หรือทางทางประกอบ ซึ่งมีความหมายถึงบางสิ่งบางอย่าง
5. Jargon ในขั้นนี้เด็กจะออกเสียงคำพูดสูง ๆ ต่ำ ๆ
6. Telegraphic languagr เด็กจะพูดเฉพาะคำบางคำในประโยค โดยเว้นคำอื่น ๆ ที่ไม่สำคัญ
7. Sentonces เมื่อเด็กรู้จักใช้ ทางประกอบในขั้นแรกจะเริ่มพูดเป็นประโยคสั้น ๆ

ฟังพัฒนาการทางการ
1. การรับรู้ว่ามีเสียง เด็กจะสังเกตว่ามีเสียงเกิดขึ้น และทำกริยารับรู้ เช่น กระพริบตา
2. การจำและระลึกเสียงได้ เด็กจะเริ่มเข้าใจและแยกแยะเสียงได้
3. การแสดงความเข้าใจต่อเสียง เด็กจะเริ่มทำกริยาตอบสนอง
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินก็จะมีพัฒนาการไปตามไปตามขั้นเหล่านี้เช่น
เดียวกัน คือจะต้องรู้จักฟังก่อน เพื่อที่จะสามารถเกิดทักษะในการพูด

พัฒนาการทางการพูด
1. ปฏิกิริยาสะท้อน นับตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 เดือน เด็กจะร้องไห้เป็นการตอบสนองตอสิ่งเร้าต่าง ๆ
2. ขั้นเล่นเสียง นับต่อจากขั้นที่ 1 จนถึง 8 เดือน ในวัยนี้เสียงของผู้ใหญ่จะเป็นสิ่งเร้าให้เด็กเล่นเสียงได้
3. ขั้นเลียนแบบเสียง ขั้นนี้เด็กมีอายุเฉลี่ย 9 เดือน เด็กสามารถจำเสียงของผู้อื่นได้ละเอียดขึ้น
4. ขั้นเลียนแบบซ้ำ ๆ เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 1 ปี จะเลิกเรียนเสียงของตัวเองที่ไม่มีความหมาย
5. ขั้นพูดได้ อายุประมาณ 10 –18 เดือน เด็กจะพูดคำแรกได้ เมื่ออายุมากขึ้นจะเริ่มพูดประโยค

พัฒนาการทางการอ่าน
พัฒนาการทางการอ่านเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน จะต้องอาศัยความคิดรวบยอดจากการใช้คำต่าง ๆ เด็กต้องมีความพร้อมและความเข้าใจภาษามาก่อน
ความพร้อมในการอ่านแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. องค์ประกอบทางด้านกายภาพ ได้แก่ การมีวุฒิภาวะและความเจริญงอกงามโดยทั่ว ๆ ไป
2. องค์ประกอบทางด้านสติปัญญา ได้แก่ความสามารถในการรู้ ความสามารถในการคิด
3. องค์ประกอบทางด้านอารมณ์ ได้แก่ การจูงใจ และ บุคลิกภาพ
4. องค์ประกอบทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่พื้นฐานทางภาษา และประสบการณ์ในสังคม

พัฒนาการทางการเขียน
องค์ประกอบที่สำคัญในการเขียนก็คือ ความพร้อม และวุฒิภาวะทางสมอง การควบคุมกล้ามเนื้อนิ้วมือและแขน ตลอดจนการแระสานงานกันระหว่างสายตาและมือ
การสอนเด็กเขียนควรดำเนินการคล้อยตามธรรมชาติ ไม่ควรเร่งรัดให้เด็กเขียน ควรมีกิจกรรมหลายอย่างที่ช่วยในการฝึกเขียนได้เป็นอย่างดี เช่น การฝึกลากเส้นประเภทต่าง ๆ จากนั้นจึงเริ่มฝึกเขียน ลักษณะที่แสดงว่าเด็กพร้อมที่จะเรียนเขียนได้ คือเด็กจะต้องมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสามารถของกล้ามเนื้อในขณะเขียน กล้ามเนื้อแขน มือ และนิ้วมือ จะต้องเคลื่อนไหวกลมกลืนกัน
2. ความสามารถในการจำภาพของตัวอักษร ภาพของตัวอักษรจะต้องอยู่ในจิตใจเด็กอย่างชัดเจนและต้องจดจำลีลาการเขียนแต่ละตัวให้ได้ การประสานของมือและตาต้องไปได้ดี การเขียนตัวอักษรของเด็กก็ทำได้ไม่ยากนัก

แหล่งอ้างอิง : ดาวใจ ลีเหลา
โดย : นาง เพ็ญศรี นิลนางงาม, สถาบันราชภัฏ, วันที่ 24 สิงหาคม 2546