วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551

ส่งงานเดี่ยว

กิจกรรม ก. ไก่ อะไรเอ่ย
เตรียมตน

- เตรียมสื่อบัตรคำ ก.ไก่
- เตรียมสื่อบัตรคำรูปภาพ มี บัตรคำรูปภาพไก่ บัตรคำรูปภาพกบ บัตรคำรูปภาพแก้ว บัตรคำรูปภาพกระดาษ บัตรคำรูปภาพกระจก
- มีความรู้เรื่องภาษา
- เตรียมคำพูดของตนเอง
เตรียมสื่อ
- สื่อรูปภาพบัตรคำ มี ก. ไก่ บัตรรูปภาพไก่ บัตรรูปภาพกบ บัตรรูปภาพแก้ว บัตรรูปภาพกระดาษ บัตรรูปภาพกระจก
- สื่อรูปภาพบัตรคำหลอก มี บัตรคำรูปภาพหมู บัตรคำรูปภาพลูกบอล บัตรคำรูปภาพทีวี
- กระดาษจด
เตรียมกิจกรรม
- ให้เด็กๆ นั่งเป็นครึ่งวงกลม
- ครูอธิบายเรื่องภาษา
- ครูให้เด็กเล่นเกมจับคู่รูปภาพ
- ครูให้เด็กเล่นเกม ก. ไก่ อะไรเอย
- ครูถามเด็กแล้วเขียนลงในกระดาษ
- ครูคอยให้กำลังใจแล้วชื่นชมเด็ก

ผลของกิจกรรม
กิจกรรมนี้ทำกับเด็กแถวบ้าน เวลา 15:00 น. เด็กอายุ 2-5 ขวบ
1. จากการที่ให้เด็กเล่นเกมจับคู่แล้ว เด็กสามารถจับคู่ได้ค่ะ
2. ให้เด็กเล่นเกม ก. ไก่ อะไรเอยแล้ว เด็กสามารถหาตัว ก.ไก่ ได้ถูกต้องค่ะ
3. จากการพูดคุยกับเด็กว่า ก.ไก่ มีอะไรอีกบ้างน้อกจากนี้
มีคำว่า กวาง กระรอก กระต่าย กุ้ง กิ่งแก้วกาฝาก กาน้ำ เกิด กระติก กิน กราบไหว้ กลัว กระเป๋า
กางเกง เป็นต้นค่ะ
หมายเหตุ
ไม่มีรูปภาพค่ะ แต่จัดกิจกรรมให้เด็กจริงค่ะ

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

! ความน่ารักของหนู ! [*-*]

ภาษาธรรมชาติ หรือ Whole Language Approach



เป็นการสอนภาษาแบบบูรณาการ คือการสอนการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมๆ กันอย่างมีระบบ เชื่อว่าถ้าสอนโดยรวมจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งดีกว่าสอนแบบเดิมที่ใช้วิธีการสอนแบบแยกออกไป เช่น พอถึงเวลาเขียนก็เขียน อ่านก็นั่งอ่านเพียงอย่างเดียว เราไม่ได้บอกว่าการสอนแบบนั้นไม่ดี แต่มีการวิจัยออกมาพบว่าการสอนแบบภาษาธรรมชาติ เราจะยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง แต่การสอนแบบเก่าจะยึดหลักสูตรหรือหนังสือแบบเรียนเป็นตัวหลัก และการสอนแบบนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมแก่เด็กในทุกๆ ด้าน”

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

{{{ การพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย }}}



การพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย

การจัดการเรียนรู้
? รู้และเข้าใจแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา ของเด็กปฐมวัย
? รู้และเข้าใจหลักการและวิธีการจัดการเรียนรู้ภาษาสำหรับ เด็กปฐมวัย
? จัดการเรียนรู้และประสบการณ์ทั้งภาษาไทย และภาษาถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย
? สร้างสื่อเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
? พัฒนาแบบวัดทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
? ยอมรับและเห็นคุณค่าของความแตกต่างระหว่างบุคคล

สาระการเรียนรู้
? พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
? การจัดการเรียนรู้แบะประสบการณ์ภาษาไทย และภาษาถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย
? หลักการ วิธีการเรียนรู้และการประเมินผล
? การสร้างและพัฒนาสื่อเพื่อพัฒนาทักษะ ทางภาษา

ผลลัพธ์การเรียนรู้
? ศึกษาแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการทางภาษาและการจัด ประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
? ศึกษาหลักการวิธีการเรียนรู้และการประเมินผลทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย
? ทดลองจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
? ฝึกออกแบบสร้างทดลองประเมินและปรับปรุงสื่อ การสอนภาษา


เป้าหมาย
1. สามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางภาษา
2. สามารถวิเคราะห์ วางแผนในการจัดกิจกรรมการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย
3. สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษา ภาษาไทย ภาษาถิ่น ภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่สองสำหรับเด็กปฐมวัย
4. สามารถสร้างพัฒนา สื่อและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาเด็กปฐมวัย
5. สามารถสร้างและพัฒนาแบบวัดและประเมินทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
6. สามารถวิเคราะห์ การยอมรับและเห็นคุณค่าของความแตกต่างทางภาษาระหว่างบุคคล

การสอน
ครั้งที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษา
ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะองค์ประกอบของภาษา
ครั้งที่ 2
ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา
วิเคราะห์ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา
ครั้งที่ 3 – 4
พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
ศึกษาสังเกตสถานการณ์จริง
ครั้งที่ 5 – 9
การจัดประสบการณ์ภาษาไทยและภาษาถิ่น หรือภาษาที่ 2 สำหรับเด็กปฐมวัย
ศึกษาจากสถานการณ์จริง
ตรั้งที่ 10 – 13
สร้างสื่อเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาเด็กปฐมวัย
สำรวจชื่อและออกแบบการสร้างตลอดจนทดลองใช้กับเด็กจริง ๆ
ครั้งที่ 14 - 16
พัฒนาแบบวัดทักษะทางภาษา
ระดมความคิดในการพัฒนาแบบรัดและนำไปทดลองใช้

วัดผล ประเมินผล
1. ปฏิบัติ 50 คะแนน
2. สอบระหว่างภาค 20 คะแนน
3. สอบปลายภาค 30 คะแนน

!!!เด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติสามารถวินิจฉัยได้ง่าย !!!


หากเด็กมีความสามารถไม่สมวัยชัดเจน แต่มีเด็กจำนวนไม่น้อย ที่มีพัฒนาการ
ผิดปกติไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

จากสถิติขององค์การอนามัยโลกประมาณว่าร้อยละ 15-20 ของเด็กทั่วโลก มีพัฒนาการผิดปกติ กลุ่มโรคที่มีพัฒนาการผิดปกติได้แก่โรคสมาธิสั้น ความผิดปกติทางภาษา การเรียนบกพร่อง ปัญญาอ่อน กลุ่มอาการออทิซึ่ม โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น หอบหืด เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็ง เป็นต้น
ถ้าเราสามารถตรวจหาว่าเด็กคนนี้มีพัฒนาการล่าช้าได้เร็ว ก็จะสามารถวางแผนที่จะช่วยให้เด็กกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีพอ โดยให้รีบทำการรักษาโรคที่เด็กเป็นอยู่หรือทำการกระตุ้นการพัฒนาการตั้งแต่เล็กๆ ซึ่งอาจทำให้เด็กเหล่านี้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ โรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มพัฒนาการผิดปกติ โดยเฉพาะในต่างประเทศโรคหนึ่ง คือ การเรียนบกพร่อง (learning disabilily หรือ LD) แต่ประเทศเรา ยังไม่ค่อยมีการศึกษาทำให้ครูบางคนเข้าใจว่า LD เป็นโรคปัญญาอ่อนทั่วๆ ไป ที่ไม่ใช่เพราะเด็ก LD สามารถเรียนจนจบดอกเตอร์ได้ถ้าได้รับการเรียนการสอนที่ถูกต้อง learning disabilily หรือ LD คือ อาการรับรู้บกพร่อง เกิดจากกระบวนการทำงานของสมองส่วนที่แปลความผิดปกติ เช่นเด็ก 2 คนดูภาพเดียวกัน เด็กที่เป็น LD จะแปลภาพออกมาเป็นรูปทรง ที่ไม่เหมือนเด็กปกติเห็น เช่น ภาพ "ก" เด็ก LD อาจเขียน "ก กลับหลัง" เพราะเขาเห็นภาพเป็นแบบนั้น เป็นต้น
เด็กที่มีความผิดปกติด้านภาษา (speech and language disorder) ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยแต่ยังถูกละเลยความสำคัญบางอย่าง เช่น เด็กมาด้วยปัญหาพูดช้า การประเมินจะมุ่งเน้นเรื่องการพูดของเด็กเป็นส่วนใหญ่ อาจมีการประเมินความสามารถในการฟังหรือความเข้าใจภาษาบ้าง แต่มักจะไม่ครอบคลุมการประเมินว่าภาษาที่พูดนั้นมีความหมาย ในการสื่อสารเหมาะสมกับวัยหรือไม่ หรือประเมินทักษะการใช้ภาษาด้านอื่นๆ นอกจากคำพูด พัฒนาการทางภาษาที่ผิดปกติของเด็กแม้จะไม่รุนแรง แต่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กเมื่อโตขึ้นพอสมควร เนื่องจากพัฒนาการของเด็กมีขีดขั้นความสามารถที่เด็กทำได้ในช่วงอายุหนึ่งๆ เช่น ร้อยละ 50 ของเด็กเริ่มเดินเองได้ที่อายุ 1 ปี หรือประมาณร้อยละ 90 เดินได้เองที่อายุ 15 ของเดือน ดังนั้นการวินิจฉัยพัฒนาการล่าช้าในเด็ก จึงต้องอาศัยเกณฑ์เทียบความสามารถของเด็กที่มีปัญหากับเด็กปกติ ส่วนมากที่อายุเท่ากันด้วย

DQ=อายุพัฒนาการx100 อายุจริง

DQ คือ ค่าความสามารถพัฒนาการ เป็นคะแนนที่ได้จากการทดสอบ การพัฒนาการของเด็ก โดยแบบทดสอบการพัฒนาการขั้นแรกสร้างในปี พ.ศ.2523 เป็นแบบทดสอบที่ใช้เวลาทดสอบประมาณ 30 นาที เริ่มใช้กับทารกอายุ 1 สัปดาห์ ถึง 42 สัปดาห์
อายุพัฒนาการ หมายถึง อายุเฉลี่ยที่เด็กมีความสามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น เด็กคนหนึ่งอายุ 2 ปี เพิ่งเริ่มพูดคำที่มีความหมายได้ (แต่ปกติเด็กส่วนใหญ่ จะพูดคำพูดที่มีความหมายได้เมื่ออายุ 1 ปี ซึ่งเด็กคนนี้จะมีอายุพัฒนาการ 1 ปี แต่อายุจริง 2 ปี)

DQ ของการพัฒนาการทางภาษาของเด็กคนนี้ =1/2x100=50
เอาเด็กที่มีพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้าโดย DQ อยู่ระหว่าง 50-70 เกณฑ์ล่าช้านั้นอยู่ในขั้นน้อย และเมื่อให้คำแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และส่งเสริมพัฒนาการด้านนั้นๆ แล้วเด็กดีขึ้นก็อาจติดตามเฝ้าระวังดูเป็นระยะๆ ต่อไปได้ ภายหลังติดตาม 2-3 เดือน หากประเมินซ้ำแล้วยังล่าช้าอยู่ควรพิจารณา ทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุต่อไป

ในกรณีที่ DQ มีค่าน้อยกว่า 50 ไม่ว่าจะล่าช้ากี่ด้านก็ตามควรตรวจหาสาเหตุ อย่างถี่ถ้วนตั้งแต่ต้น
DQ ไม่ใช่ IQ ดังนั้นจึงไม่สามารถนำมาใช้พยากรณ์ระดับสติปัญญาของเด็ก ในระยะยาวได้ อาจใช้บอกได้เพียงเป็นแนวโน้มโดยเฉพาะในกรณีที่ DQ ต่ำมากๆ เนื่องจากข้อทดสอบที่ใช้กับเด็กในช่วงอายุ 2-3 ปีแรก เป็นข้อทดสอบที่ประเมินทักษะ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์กับระดับสติปัญญาน้อย
หากใช้ DQ ในการประเมินพัฒนาการเด็กแล้วพบว่า ทักษะการใช้กล้ามเนื้อบกพร่อง ควรให้เด็กได้พบแพทย์เพื่อตรวจระบบประสาท เพราะโรคสมองบางอย่าง เช่น cerebral palsy จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง
เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าจะมีความสัมพันธ์กับระดับสติปัญญา หากมีพัฒนาการด้านภาษาช้าและพัฒนาการด้านสังคมช้าด้วย ก็อาจเป็นโรคออทิซึ่ม ในเด็กออทิซึ่มพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า ไม่สัมพันธ์กับระดับสติปัญญาของเด็กกลุ่มนี้โดยตรง เพราะเด็กออทิซึ่มจำนวนหนึ่งมีระดับสติปัญญาปกติเมื่อโตขึ้น
พัฒนาการล่าช้าในเด็ก ทางการแพทย์ได้จำแนกพัฒนาการ ออกเป็น 4 ด้าน คือ
1. การทรงตัวและการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (gross molor)
2. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กรวมทั้งการใช้ตาและมือร่วมกันในการทำงาน (fine motor adaptive)
3. ด้านสื่อภาษา (language)
4. ด้านทักษะทางสังคม และการช่วยเหลือตนเอง (social and self help)

แนวทางการวินิจฉัยพัฒนาการล่าช้านั้นพอสรุปได้ดังนี้
1. พัฒนาการล่าช้าเล็กน้อย (DQ 50-75)
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าน้อยมาก โดยมี DQ มากกว่า 75 มักไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าผิดปกติ เนื่องจากเกือบทั้งหมด เป็นภาวะที่เบี่ยงเบนไปเล็กน้อยจากปกติ แต่เมื่อเด็กมีพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่ง ล่าช้าและ DQ อยู่ในช่วง 50-75 ส่วนหนึ่ง มักเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงดู เพราะเมื่อติดตามเด็กกลุ่มนี้ไประยะหนึ่ง พัฒนาการที่ล่าช้า จะดีขึ้นจนใกล้เคียงหรือเป็นปกติ เชื่อว่าการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อเด็กสามารถช่วยให้พัฒนาการของเด็กดีขึ้นได้
อย่างไรก็ตามพัฒนาการที่ล่าช้าเล็กน้อยนี้อาจเป็นอาการแสดงเริ่มต้น ของโรคบางโรคที่ไม่รุนแรง เช่น พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อล่าช้าเล็กน้อย อาจพบในโรค cerebral palsy ชนิดไม่รุนแรงที่มีการตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติไม่มากนัก ร่วมกับมีความผิดปกติของระบบประสาทเพียงเล็กน้อย
พัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้าเล็กน้อยเพียงด้านเดียว มักได้รับการวินิจฉัยว่ามีสาเหตุจากการเลี้ยงดู แต่มีเด็กจำนวนไม่น้อย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น developmental language disorder (DLD) พัฒนาการทางภาษาล่าช้าเล็กน้อยนี้อาจมีสาเหตุจากการได้ยินบกพร่อง เป็นอาการเริ่มต้นของกลุ่มที่มีสติปัญญาต่ำกว่าปกติเล็กน้อย หรือเป็นการเรียนรู้ภาษาบกพร่อง
2. พัฒนาการล่าช้ามาก (DQ ต่ำกว่า 50)
เมื่อระดับ DQ ต่ำกว่า 50 มีโอกาสที่เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้าผิดปกติจริงสูงมาก ประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าของการพัฒนาการล่าช้าในกลุ่มนี้มีสาเหตุที่อาจจะระบุได้ ถ้ามีการตรวจค้นอย่างถี่ถ้วน การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมอาจเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ช้ามากขึ้น
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ามากโอกาสที่จะตรวจพบว่า มีเพียงด้านใดด้านหนึ่งล่าช้าเพียงด้านเดียวมีอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีทักษะล่าช้าหลายด้านด้วยกัน
พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อล่าช้ามากมักเป็นโรคกลุ่ม cerebral palsy ที่เป็นรุนแรง ซึ่งเด็กจะมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติมาก นอกจากทักษะด้านการทรงตัว และเคลื่อนไหวล่าช้าแล้ว ทักษะการใช้มือมักล่าช้าไปด้วย และอาจมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าร่วมด้วย หากมีพยาธิสภาพที่สมองรุนแรง จะมีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วยมากกว่า cerebral palsy ประเภทอื่นที่มีความรุนแรงน้อยกว่า ดังนั้นจึงควรประเมินทักษะการใช้มือและตาร่วมกันทำงานและด้านการสื่อภาษาด้วยเสมอ เพราะเป็นทักษะที่สามารถสะท้อนระดับสติปัญญาได้ดี ถ้าพบว่าทักษะ 2 ด้านนี้ปกติหรือใกล้เคียงปกติ เด็กคนนั้นควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านที่ดีตามวัย เพื่อไม่ให้ขาดโอกาสการเรียนรู้ที่เป็นผลตามมาจากการที่มีการเคลื่อนไหวจำกัด หรือความสามารถจำกัดในการใช้นิ้วมือเนื่องจากมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ
ถ้าทักษะด้านภาษาปกติการส่งเสริมเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เพิ่มเติม อาจทำได้โดยใช้เทคโนโลยีบางอย่างช่วย เช่น คอมพิวเตอร์พัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า อาจเกิดร่วมกับการได้ยินบกพร่องซึ่งถ้าได้รับการช่วยเหลือเช่นใช้เครื่องช่วยฟัง ก็อาจทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติได้
ถ้ามีพัฒนาการทางภาษาล่าช้ามาก อาจมีสาเหตุจากการได้ยินบกพร่อง หรืออาจเป็นอาการแสดงระยะแรกของภาวะปัญญาอ่อน โดยอาจมีความผิดปกติในทักษะด้านการใช้ตาและมือร่วมกันทำงานด้วยหรือไม่ก็ได้ และหากมีทักษะทางสังคมล่าช้ามากร่วมด้วยอาจเป็นกลุ่มอาการออทิซึ่ม

สาเหตุที่ทำให้เกิดพัฒนาการล่าช้า
1. โรคพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิด หรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย กลุ่มอาการดาวน์เป็นความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งเป็นสาเหตุของพัฒนาการล่าช้า (ปัญญาอ่อน) ที่พบบ่อยที่สุด
2. โรคของระบบประสาท เด็กพัฒนาการล่าช้าส่วนใหญ่ มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคืออาการชัก และความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ
3. การติดเชื้อ โรคในกลุ่มนี้ที่สำคัญคือ การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กมักมีน้ำหนักตัวน้อยตั้งแต่แรกเกิด ศีรษะเล็กผิดปกติ ตับม้ามโต การได้ยินบกพร่องและเป็นต้อกระจกร่วมด้วย เชื้อเหล่านี้ได้จากหัดเยอรมัน ซิฟิลิส toxoplasma AIDS ฯลฯ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึ่ม ที่พบบ่อยในไทยคือ ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในเลือด ในกรณีที่เป็นมาแต่กำเนิด และไม่ได้รับการรักษาก่อนอายุ 2-3 เดือน เด็กจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ อย่างถาวรซึ่งแก้ไม่ได้ แต่ถ้าเด็กได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเกิดเด็กจะมีสติปัญญาปกติได้
นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ ที่เกิดจากความผิดปกติของเมตาบอลิซึ่ม ซึ่งบางโรครู้แล้วก็รักษาไม่ได้ แต่บางโรคก็รักษาได้ เช่นโรค biotinidase deficiency ซึ่งเด็กจะมีอาการแสดงคือ พัฒนาการล่าช้า ผื่น ผมร่วง ชัก การใช้ biotin รักษาอาจทำให้เด็กมีอาการดีขึ้นจนเป็นปกติ ดังนั้นถ้าพบเด็กที่มีประวัติการแต่งงานระหว่างญาติหรือบุคคลในครอบครัว ที่มีความผิดปกติทำนองเดียวกัน เด็กเหล่านี้ควรได้รับการวินิจฉัยแยกโรค ความผิดปกติแต่กำเนิดเกี่ยวกับเมตาบอลิซึ่มด้วยแม้หลายโรคจะรักษาไม่ได้ แต่ควรได้รับคำปรึกษาแนะนำเพื่อการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสมต่อไป
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด มักพบในเด็กเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรก คลอดน้อยขาดออกซิเจน เป็นต้น
6. สารเคมี ตะกั่วเป็นสารเคมีที่มีผลกระทบต่อเด็กมากที่สุด เนื่องจากมีการใช้สารตะกั่วในชีวิตประจำวันมากเด็กที่มีสารตะกั่วในเลือดสูง สะสมเป็นเวลานาน จะทำให้มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไป
สารเคมีอีกตัวหนึ่งซึ่งมีผลทำให้การพัฒนาการของทารกในครรภ์ล่าช้า คือ แอลกอฮอล์ซึ่งเชื่อว่าเป็นสารที่ทำให้เกิดความผิดปกติในเด็กทารกคือ มีตัวเล็ก ตาเล็ก ริมฝีปากและร่องริมฝีปากบนเล็กผิดปกติ หัวใจพิการแต่กำเนิดและมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร ปัจจัยข้อนี้แม้มีผลกระทบต่อพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่มักไม่รุนแรง ดังนั้นหากเด็กที่พัฒนาล่าช้าค่อนข้างมาก โดยเฉพาะมี DQ ต่ำกว่า 50 ควรตรวจค้นสาเหตุอื่นร่วมด้วยเสมอ ผู้ที่เป็นพ่อแม่เด็กจึงควรเรียนรู้เรื่องพัฒนาการของเด็ก เพื่อสามารถค้นพบความผิดปกติทางพัฒนาการตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อจะได้รีบแก้ไขหรือปรับปรุงพัฒนาการของบุตรหลานของท่านให้เร็วที่สุด
พ.ญ.ลำดวน นำศิริกุล
[ ที่มา... นิตยสารแม่และเด็ก ปีที่ 22 ฉบับที่ 334 ธันวาคม 2542 ]

QQQ การพัฒนาภาษาของลูกรักแสนสนุก QQQ


สวัดดีค่ะ วันนี้เรามีการพัฒนาภาษาของลูกรักมาฝากค่ะ

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
การเรียนรู้ภาษาของเด็กมิได้เริ่มจากการเรียนคำ ความหมายของคำ แต่เริ่มจากการมีความคิดทางภาษาอยู่ภายใน แล้วจึงพัฒนาเป็นการคิดคำอาศัยการลองผิดลองถูกจากการเล่นเสียง
ขั้นตอนของพัฒนาการทางการรับรู้ภาษาของเด็ก
1. สิ่งแรกที่เด็กเรียนรู้คือ ความรู้สึกของพ่อแม่และพี่เลี้ยง ซึ่งแสดงออกโดยการพูด
2. เมื่อเด็กพัฒนาขึ้น เด็กจะเข้าใจการแสดงท่าทาง น้ำเสียงและรูปลักษณ์ของการพูด
3. ขั้นตอนการต่อมาเด็กจะเรียนรู้คำพูด และกลุ่มคำต่าง ๆ
4. ขั้นสูงขึ้นมาอีก เด็กจะเข้าใจประโยคที่ยาวขึ้นและยาก
ฉะนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กเข้าใจและสามารถสื่อภาษาได้ถูกต้อง เราต้องให้โอกาสเด็กให้ได้ฟัง ได้เห็นสิ่งของหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้นหลาย ๆ ครั้ง เพื่อช่วยให้เด็กได้พัฒนาภาษารับ ซึ่งเป็นสิ่ง สำคัญที่สุดในการที่จะช่วยเด็กสามารถติดต่อสื่อความหมายทางภาได้ดี

ขั้นตอนการแสดงออกทางภาษาของเด็ก
1. Cooing เป็นเสียงที่เด็กทำในขณะที่นอนอยู่ในเปล จะเป็นเสียงที่อยู่ในลำคอ เช่น อา อู เอ
2. Babbling เสียงอ้อแอ้ ขั้นนี้จะเริ่มเชื่อมโยงเสียงพยัญชนะและสระ
3. ImItion ขั้นเลียนเสียง จะเริ่มเลียนเสียงตัวเอง
4. Single Words ขั้นนี้เด็กจะเสียง หรือทางทางประกอบ ซึ่งมีความหมายถึงบางสิ่งบางอย่าง
5. Jargon ในขั้นนี้เด็กจะออกเสียงคำพูดสูง ๆ ต่ำ ๆ
6. Telegraphic languagr เด็กจะพูดเฉพาะคำบางคำในประโยค โดยเว้นคำอื่น ๆ ที่ไม่สำคัญ
7. Sentonces เมื่อเด็กรู้จักใช้ ทางประกอบในขั้นแรกจะเริ่มพูดเป็นประโยคสั้น ๆ

ฟังพัฒนาการทางการ
1. การรับรู้ว่ามีเสียง เด็กจะสังเกตว่ามีเสียงเกิดขึ้น และทำกริยารับรู้ เช่น กระพริบตา
2. การจำและระลึกเสียงได้ เด็กจะเริ่มเข้าใจและแยกแยะเสียงได้
3. การแสดงความเข้าใจต่อเสียง เด็กจะเริ่มทำกริยาตอบสนอง
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินก็จะมีพัฒนาการไปตามไปตามขั้นเหล่านี้เช่น
เดียวกัน คือจะต้องรู้จักฟังก่อน เพื่อที่จะสามารถเกิดทักษะในการพูด

พัฒนาการทางการพูด
1. ปฏิกิริยาสะท้อน นับตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 เดือน เด็กจะร้องไห้เป็นการตอบสนองตอสิ่งเร้าต่าง ๆ
2. ขั้นเล่นเสียง นับต่อจากขั้นที่ 1 จนถึง 8 เดือน ในวัยนี้เสียงของผู้ใหญ่จะเป็นสิ่งเร้าให้เด็กเล่นเสียงได้
3. ขั้นเลียนแบบเสียง ขั้นนี้เด็กมีอายุเฉลี่ย 9 เดือน เด็กสามารถจำเสียงของผู้อื่นได้ละเอียดขึ้น
4. ขั้นเลียนแบบซ้ำ ๆ เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 1 ปี จะเลิกเรียนเสียงของตัวเองที่ไม่มีความหมาย
5. ขั้นพูดได้ อายุประมาณ 10 –18 เดือน เด็กจะพูดคำแรกได้ เมื่ออายุมากขึ้นจะเริ่มพูดประโยค

พัฒนาการทางการอ่าน
พัฒนาการทางการอ่านเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน จะต้องอาศัยความคิดรวบยอดจากการใช้คำต่าง ๆ เด็กต้องมีความพร้อมและความเข้าใจภาษามาก่อน
ความพร้อมในการอ่านแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. องค์ประกอบทางด้านกายภาพ ได้แก่ การมีวุฒิภาวะและความเจริญงอกงามโดยทั่ว ๆ ไป
2. องค์ประกอบทางด้านสติปัญญา ได้แก่ความสามารถในการรู้ ความสามารถในการคิด
3. องค์ประกอบทางด้านอารมณ์ ได้แก่ การจูงใจ และ บุคลิกภาพ
4. องค์ประกอบทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่พื้นฐานทางภาษา และประสบการณ์ในสังคม

พัฒนาการทางการเขียน
องค์ประกอบที่สำคัญในการเขียนก็คือ ความพร้อม และวุฒิภาวะทางสมอง การควบคุมกล้ามเนื้อนิ้วมือและแขน ตลอดจนการแระสานงานกันระหว่างสายตาและมือ
การสอนเด็กเขียนควรดำเนินการคล้อยตามธรรมชาติ ไม่ควรเร่งรัดให้เด็กเขียน ควรมีกิจกรรมหลายอย่างที่ช่วยในการฝึกเขียนได้เป็นอย่างดี เช่น การฝึกลากเส้นประเภทต่าง ๆ จากนั้นจึงเริ่มฝึกเขียน ลักษณะที่แสดงว่าเด็กพร้อมที่จะเรียนเขียนได้ คือเด็กจะต้องมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสามารถของกล้ามเนื้อในขณะเขียน กล้ามเนื้อแขน มือ และนิ้วมือ จะต้องเคลื่อนไหวกลมกลืนกัน
2. ความสามารถในการจำภาพของตัวอักษร ภาพของตัวอักษรจะต้องอยู่ในจิตใจเด็กอย่างชัดเจนและต้องจดจำลีลาการเขียนแต่ละตัวให้ได้ การประสานของมือและตาต้องไปได้ดี การเขียนตัวอักษรของเด็กก็ทำได้ไม่ยากนัก

แหล่งอ้างอิง : ดาวใจ ลีเหลา
โดย : นาง เพ็ญศรี นิลนางงาม, สถาบันราชภัฏ, วันที่ 24 สิงหาคม 2546